ในทุกหลักสูตรของการปฐมพยาบาลฉุกเฉินเบื้องต้น คุณจะได้เรียนรู้การจัดลำดับการให้การดูแลในภาวะฉุกเฉินเช่นเดียวกันกับที่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ใช้รักษา
การปฐมพยาบาลฉุกเฉิน (การปฐมพยาบาลหลัก)
ในทุกหลักสูตรของการปฐมพยาบาลฉุกเฉินเบื้องต้น คุณจะได้เรียนรู้การจัดลำดับการให้การดูแลในภาวะฉุกเฉินเช่นเดียวกันกับที่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ใช้รักษา เมื่อใครบางคนต้องการการดูแลอย่างฉุกเฉิน เวลาจะเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากโอกาสในการฟื้นตัวจะน้อยลงขึ้นกับเวลา คุณควรจะแจ้งหน่วยบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินในทุกกรณี (EMS) ในประเทศไทยนั้นจะเรียก 191 หรือ 1669
โทรแจ้งก่อน - แจ้ง EMS เมื่อมีผู้ไม่ตอบสนองและหายใจไม่ปกติ
ให้การดูแลก่อน - ถ้าคุณอยู่คนเดียวและมีผู้ป่วยไม่หายใจเนื่องจากจมน้ำหรือระบบทางเดินหายใจมีปัญหา ควรให้การดูแลประมาณสองนาทีก่อนจากนั้นโทรแจ้ง EMS
ภาวะคุกคามชีวิตฉุกเฉินที่พบได้บ่อย
- หัวใจวาย [ส่วนมากจะทำให้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก / หายใจหอบ / วิงเวียน]
- หัวใจหยุดเต้น [คนที่ไม่ตอบสนอง / หายใจไม่ปกติ / ไม่มีการไหลเวียน]
- โรคหลอดเลือดสมอง [สับสนฉับพลัน / อาการง่วงนอน / ชาในใบหน้า / แขน / ขา / ปัญหาการมองเห็นในหนึ่งหรือสองข้าง]
- สำลัก [กุมหรือกำบริเวณคอ / ไม่สามารถพูดได้]
สาเหตุที่พบบ่อยที่คนหยุดหายใจ;
- ยาเกินขนาด
- หัวใจวาย
- หัวใจหยุดเต้นกระทันหัน
- จมน้ำ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- ทางเดินหายใจอุดตัน / สำลัก
- หอบหืดอย่างรุนแรง
การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็น
เหตุผลบางประการที่คนลังเลที่จะให้การดูแลฉุกเฉิน;
- ความวิตกกังวล / รู้สึกผิด
- ความกลัวของการติดเชื้อ
- ความกลัวของคนที่ทำให้ผู้ป่วยแย่ลง
- กลัวการฟ้องร้อง
แนวทางทั่วไปของกฎหมายคุ้มครองพลเมืองดี;
- 1. ปฏิบัติการช่วยเหลือในหลักสูตรที่คุณได้รับการฝึกอบรมเท่านั้น
- 2. ต้องขออนุญาตก่อนที่จะให้การช่วยเหลือ ("ดิฉัน/ผมชื่อ ... เป็นผู้ปฐมพยาบาลฉุกเฉิน ขออนุญาตช่วยคุณได้ไหม?")
- 3. ปฏิบัติด้วยความตั้งใจจริง(ความซื่อสัตย์)
- 4. ไม่ประมาทหรือละเลย
- 5. ปฏิบัติด้วยความรอบคอบ (และความปลอดภัย)
- 6. ไม่ละทิ้งผู้ป่วยในระหว่างการดูแล *
สิ่งที่ได้จากการให้ความช่วยเหลือคนที่ต้องการดูแลฉุกเฉิน;
- คุณสามารถช่วยชีวิต
- คุณสามารถลดเวลาการฟื้นตัวของผู้ป่วย
- คุณสามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะทุพพลภาพถาวร
ลำดับห่วงโซ่ของการการอยู่รอดที่ใช้โดยกันโดยทั่วไปและใช้ในผู้เชี่ยวชาญคือ
- 1. ตระหนักถึงภาวะฉุกเฉินและโทรขอความช่วยเหลือ (EMS)
- 2. การนวดหัวใจโดยเร็ว CPR
- 3. การกระตุ้นโดยเครื่อง AED
- 4. การตอบ EMS และการติดตาม
AB-CABS
การประเมินเบื้องต้นและขั้นตอนการดูแล [ประเมินสิ่งอันตราย / สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน / ขออนุญาต / การแจ้ง EMS]
- A - เปิดทางเดินหายใจของผู้ป่วยโดยใช้วิธีการยกคางและหัวขึ้น และตรวจสอบการอุดตัน
- B - หายใจปกติหรือไม่ เคาะกระดูกไหปลาร้าของผู้ป่วย และมอง ฟัง และสัมผัสลมหายใจเป็นเวลา 10 วินาที
- C - นวดหัวใจ
- A - เปิดทางเดินหายใจ
- B - ผายปอด การเป่าปาก
- S - ภาวะเลือดออกอย่างรุนแรง / การจัดการภาวะช็อค / การจัดการภาวะกระดูกสันหลังบาดเจ็บ
CPR
- CPR ย่อมาจากการช่วยชีวิตขั้นสูง
- CPR เป็นขั้นตอนปฏิบัติชั่วคราวโดยรวมการนวดหัวใจและเป่าปากจนกระทั่ง EMS หรือ AED มาถึง
- CPR เพียงอย่างเดียวแทบจะไม่รีสตาร์ทหัวใจของผู้ป่วย โดยที่ไม่ได้ใช้ AED ร่วมด้วย การปฏิบัติ CPR อย่างถูกต้องในคนที่ไม่มีการเต้นของหัวใจ จะไม่สามารถทำให้พวกเขาแย่ลง การช่วยชีวิตโดยการเป่าปากจะให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอที่จะช่วยผู้ป่วยที่ไม่หายใจ ไม่จำเป็นต้องทำ CPR ในผู้ที่หมดสติแต่ยังหายใจอยู่ ควรจัดให้อยู่ในท่าพักฟื้นหากไม่สงสัยว่ามีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง
- ในการทำ CPR - ควรนวดแรงและนวดเร็ว
- ถ้าคุณไม่สะดวกที่จะให้ช่วยหายใจ คุณควรนวดหัวใจอย่างต่อเนื่อง
- อัตราการนวดหัวใจ ไม่ควรต่ำกว่า 100 ครั้งต่อนาที
- ความลึกของการนวดหัวใจ ไม่ควรต่ำกว่า 5 เซนติเมตร
- สัดส่วนที่สมควร (30 ครั้ง) ในการนวดหัวใจ ต่อ (2 ครั้ง) ในการช่วยหายใจ
คืออะไร
- AED ย่อมาจากเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้าภายนอก
- AED เป็นเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้าที่สามารถพกพาได้ ที่สามารถทำการช็อคในผู้ที่หัวใจหยุดเต้น กระ
กระตุ้นโดยการช็อค จะรบกวนจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติและปรับให้การเต้นหัวใจเป็นปกติ ภาวะคุกคามชีวิตอันตรายที่พบได้บ่อย
- หัวใจวาย
- ภาวะหัวใจหยุดเต้น [ไม่ตอบสนองและหายใจไม่ปกติ]
- โรคหลอดเลือดสมอง [สับสนฉับพลัน / อาการง่วงนอน / ชาในใบหน้า / แขน / ขา / ปัญหาการมองเห็นในหนึ่งหรือสองข้าง]
- สำลัก [กุมคอหรือกำบริเวณคอ]
บาดแผลมีเลือดออกอย่างรุนแรง
ใช้อุปกรณ์ป้องกัน (ถุงมือยาง/ หน้ากาก) ระหว่างผิวของคุณและเลือดหรือของเหลวจากร่างกายผู้ป่วย เพื่อช่วยหลีกเลี่ยงการติดเชื้อจากโรคที่ติดทางของเหลว (ตับอักเสบ / เอชไอวี) เลือดออกจากเส้นเลือดแดงใหญ่ จะมีสีแดงสดซึ่งออกพุ่งเป็นจังหวะของการเต้นของหัวใจ เลือดออกจากเส้นเลือดดำ จะมีสีแดงคล้ำเข้มและไม่ออกเป็นจังหวะจากแผล เลือดออกจากเส้นเลือดฝอย จะไหลซึมช้า ๆ จากบาดแผล
สื่งสำคัญ - การรักษาที่สำคัญสำหรับการมีเลือดออกอย่างรุนแรงคือการใช้แรงดันกดโดยตรงอย่างต่อ เนื่องที่บาดแผลและ ถ้าเป็นไปได้ ควรยกส่วนที่ได้รับบาดเจ็บเหนือหัวใจ เมื่อทำแผลโดยสะอาดแล้วไม่ควรจะแกะออก แม้ว่าผ้าพันแผลจะชุ่มด้วยเลือด ควรใช้ผ้าแผลเพิ่มทับลงเพื่อให้แรงกดบนแผล
การจัดการภาวะช็อค
ผู้ป่วยมักจะเกิดอาการช็อคจากการบาดเจ็บ มีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้;
- ชีพจรเบาเร็ว
- ผิวซีด
- ผิวชื้น/ สั่น
- จิตสับสน / กระสับกระส่าย
- การรับรู้เปลี่ยนแปลง
- ตาพร่ามัว
- หายใจสั้น ลำบาก
- ภาวะขาดน้ำ
- การจัดการภาวะช็อคมักจะหมายถึง การรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้ปกติ ควรยกขาและเท้าของผู้ป่วยขึ้น (ถ้าไม่มีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง) และการตรวจสอบการหายใจ
การจัดการผู้บาดเจ็บกระดูกสันหลัง
สาเหตุที่พบบ่อยของการบาดเจ็บกระดูกสันหลัง;
- การเกิดอุบัติเหตุทางจราจร
- ตกจากที่สูง
- สายฟ้าฟาด
- แผลเจาะทะลุ
- ระเบิดรุนแรงที่หน้า, คอ หรือหลัง
- การดำน้ำในสระว่ายน้ำตื้น
ข้อบ่งชี้ว่าอาจมีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง;
- ปวดหัว
- หายใจลำบาก
- ปัญหาการมองเห็น
- อาเจียน
- ไม่สามารถที่จะเคลื่อนส่วนหนึ่งของร่างกาย / ชา
- เป็นลม / การสูญเสียความสมดุล
- อาการปวดหลังหรือบริเวณคอ
- * ห้ามเคลื่อนย้ายคนที่สงสัยว่าจะมีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังถ้าไม่จำเป็นจริง (เช่นไฟไหม้ / น้ำท่วม / อาคารไม่มั่นคง / บนถนน) ใช้เทคนิคพลิกล็อก (log roll) ถ้าคุณต้องการกลับด้านของผู้ป่วย (เช่น เพื่อปฏิบัติ CPR)
การปฐมพยาบาลขั้นรอง - การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับภาวะที่ไม่คุกคามต่อชีวิตหรือเจ็บป่วย
ควรตรวจสอบการตอบสนองทุกครั้ง (การประเมินหลัก) โดยใช้ AB-CABS ก่อนที่จะทำการประเมินร่างกายขั้นรอง ประเมินการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยโดยใช้สัญญาณ (สิ่งที่คุณสามารถมองเห็นหรือได้ยิน) และอาการ (สิ่งที่ผู้ป่วยบอกคุณ)
หยุดการประเมินของผู้ป่วย หากผู้ป่วยมีอาการเกี่ยวกับศีรษะ คอ หรือปวดหลัง ถ้าไม่มีคุณสามารถทำการรักษาอาการบาดเจ็บที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตในขณะที่รอ EMS.
การประเมินการบาดเจ็บ [การประเมินตั้งแต่หัวจรดเท้า / พันแผลหรือการดามในการบาดเจ็บที่ปกติ]
การบาดเจ็บคือการที่ร่างกายได้รับการบาดเจ็บ (เช่น กระดูกหัก กระดูกเคลื่อนที่ หรือฟกช้ำ)
การประเมินความเจ็บป่วย [SAMPLE]
เจ็บป่วยคือภาวะที่ร่างกายไม่แข็งแรง (เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด, โรคลมชัก)
- S - สัญญาณและอาการ (อัตราชีพจร / อัตราการหายใจ / อุณหภูมิ / สี)
- A - การแพ้ (เช่นถั่วลิสง / อาหารทะเล / ยา / เหล็ก)
- M - ยา (เช่นหอบหืด / โรคเบาหวาน)
- P - โรคที่เป็นอยู่เดิม (โรคหัวใจ / โรคลมชัก)
- L - อาหารมื้อสุดท้าย
- E - เหตุการณ์
หากมีข้อสงสัยกรุณาปรึกษาแพทย์ประจำตัวท่าน
แบ่งปันบนโซเชียลมีเดีย